สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย Loading

เปิดกฎหมาย! พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2559

Posted On By admin
0 0
Read Time:25 Minute, 34 Second

พระราชบัญญัติ

ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  (ฉบับที่  ๒)

พ.ศ.  ๒๕๕๙

ภูมิพลอดุลยเดช  ป.ร. ให้ไว้  ณ  วันที่  ๒๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๙ เป็นปีที่  ๗๑  ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ   ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์   (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๕๙”

 

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า  “สํานักงาน”  และ  “ผู้อํานวยการ”  ในมาตรา  ๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑

 

มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า  “กรม”  และ  “อธิบดี”  ระหว่างบทนิยามคําว่า  “กองทุน”  และ  “นายทะเบียน”  ในมาตรา  ๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ ““กรม”  หมายความว่า  กรมการท่องเที่ยว “อธิบดี”  หมายความว่า  อธิบดีกรมการท่องเที่ยว”

 

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า  “พนักงานเจ้าหน้าที่”  ในมาตรา  ๔   แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  ““พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”

 

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา  ๗  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “

 

มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า  “คณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์”  ประกอบด้วย  ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  เป็นประธานกรรมการ  อธิบดีกรมการท่องเที่ยว   เป็นรองประธานกรรมการ  ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์  ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย  ผู้แทนกระทรวงแรงงาน  ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม  ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข  ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง  ผู้บังคับการ ตํารวจท่องเที่ยว  ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง  และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนเจ็ดคน  เป็นกรรมการ  ให้นายทะเบียน ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง  เป็นกรรมการและเลขานุการ” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา  ๑๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกําหนดประเภทใบอนุญาต  หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับและการออกใบอนุญาต  การขอและการต่ออายุใบอนุญาต  และการขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาต  ให้เป็นไปตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน  (ง)  ของ  (๒)  ของมาตรา  ๑๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง)  เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา  ๔๖  (๑)  (๓)  หรือ  (๔)   หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา  ๖๓  (๑)  (๒)  (๓)  หรือ  (๔)  และยังไม่พ้นกําหนดห้าปีนับถึง วันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว”

 

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๑๘  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา  ๑๖  และมาตรา  ๑๗  ต้องวางหลักประกัน เป็นเงินสดหรือหนังสือค้ําประกันของธนาคารต่อนายทะเบียนเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้  ตามจํานวนเงินที่กําหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา  ๒๒  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๒ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคําสั่งไม่ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ตามมาตรา  ๒๑  หรือมาตรา  ๒๒/๒  ให้ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวมีสิทธิอุทธรณ์ คําสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งจากนายทะเบียน”

 

มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๒๒/๑  มาตรา  ๒๒/๒  และมาตรา  ๒๒/๓  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “มาตรา ๒๒/๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ  และเมื่อได้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว  ให้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน  และให้นําความในมาตรา  ๑๙  มาตรา  ๒๐  มาตรา  ๒๑  และมาตรา  ๒๒  มาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๒๒/๒ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ประสงค์จะมีสถานที่ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา   ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขาจากนายทะเบียน ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขาให้มีอายุและประเภทตามใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว การขอรับและการออกใบอนุญาต  การขอและการต่ออายุใบอนุญาต  การขอรับและการออก ใบแทนใบอนุญาต  และการแจ้งเลิกสาขา  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๒/๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตาย  และทายาทของผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว ประสงค์จะประกอบธุรกิจนําเที่ยวนั้นต่อไป  ให้ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๖  หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคน  ให้ทายาทด้วยกันนั้นตกลงตั้งทายาทคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา  ๑๖  ประกอบธุรกิจนําเที่ยวได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุตามมาตรา  ๒๒/๑  แต่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตาย ในระหว่างการประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามวรรคหนึ่ง  ทายาทของผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวมีหน้าที่ และความรับผิดชอบเสมือนผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว  ในกรณีที่ทายาทมิได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบ ภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง  ให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นสุดลง”

 

มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา  ๒๓  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “ในกรณีมีสถานที่ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา  ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม”

 

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความใน  (๗)  ของมาตรา  ๒๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๗)  การจัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นําเที่ยว”

 

มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น  (๙)  ของมาตรา  ๒๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “(๙)  การจัดให้มีการประกันภัยสําหรับอุบัติเหตุ”

 

มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๓๑  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวจัดบริการนําเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ เรียกเก็บค่าบริการหรือเรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่เห็นได้ว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด  โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อยให้กําหนดอัตราค่าบริการขั้นต่ําและกําหนด ให้มีการจัดทําเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงค่าบริการที่เรียกเก็บ”

 

มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๓๓  และมาตรา  ๓๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวจัดให้มีมัคคุเทศก์เดินทางไปกับนักท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด ในการจัดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศ  ถ้าผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวจัดให้มีผู้นําเที่ยว เดินทางไปกับนักท่องเที่ยว  ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องใช้ผู้นําเที่ยวที่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์หรือผู้นําเที่ยวตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  ให้ถือว่า เป็นการกระทําในทางการที่จ้างของผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว มาตรา ๓๔ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันภัยสําหรับอุบัติเหตุให้แก่ นักท่องเที่ยว  มัคคุเทศก์  และผู้นําเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศกําหนด ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ไม่จัดให้มีการประกันภัยสําหรับอุบัติเหตุตามวรรคหนึ่งต้องรับผิดชอบ ต่อนักท่องเที่ยว  มัคคุเทศก์  หรือผู้นําเที่ยวเช่นเดียวกับผู้รับประกันภัย”

 

มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกมาตรา  ๓๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑

 

มาตรา ๑๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น  (๑/๑)  ของมาตรา  ๓๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “(๑/๑)  ไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา  ๒๒/๑”

 

มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๓๗  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๓๖  (๑/๑)  (๒)  หรือ  (๓)  ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวมีหน้าที่ดําเนินการตามข้อผูกพันที่มีอยู่กับนักท่องเที่ยวก่อนวันที่ ใบอนุญาตสิ้นสุดลง  โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่กําหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๓๙  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๙ หลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยววางไว้ตามมาตรา  ๑๘  ไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวยังไม่พ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ใบอนุญาตสิ้นสุดลง  ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวจะขอรับคืนหลักประกันที่วางไว้พร้อมทั้ง ดอกผลได้ก็ต่อเมื่อได้ชําระหนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้เสร็จสิ้นแล้ว ในกรณีที่นายทะเบียนได้แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวมาขอรับหลักประกันพร้อมทั้งดอกผลคืนแล้ว  ถ้าผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวไม่มารับคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง  ให้หลักประกันพร้อมทั้งดอกผล ดังกล่าวตกเป็นของกองทุน”

 

มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา  ๔๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้กรมแจ้งคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มี คําวินิจฉัย”

 

มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความใน  (๒)  ของมาตรา  ๔๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒)  ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๒๓  มาตรา  ๒๖  มาตรา  ๓๐  มาตรา  ๓๑  มาตรา  ๓๒  มาตรา  ๓๓  หรือมาตรา  ๓๔”

 

มาตรา ๒๓ ให้ยกเลิก  (๓)  ของมาตรา  ๔๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑

 

มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิก  (๒)  ของมาตรา  ๔๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑

 

มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา  ๔๙  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกําหนดประเภทใบอนุญาต  หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับและการออกใบอนุญาต  การขอและการต่ออายุใบอนุญาต  และการขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาต  ให้เป็นไปตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๒๖ ให้ยกเลิกความใน  (๑)  ของมาตรา  ๕๐  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) มีคุณสมบัติ  ดังต่อไปนี้  ( ก) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์  ( ข) มีสัญชาติไทย  ( ค) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยว ที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์  หรือสําเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกําหนด  หรือได้รับวุฒิบัตรว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรและสถานฝึกอบรมที่คณะกรรมการ กําหนด  ( ง) ผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”

 

มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความใน  (ค)  ของ  (๒)  ของมาตรา  ๕๐  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค)  เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา  ๔๖  (๑)  (๓)  หรือ  (๔)   หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา  ๖๓  (๑)  (๒)  (๓)  หรือ  (๔)  และยังไม่พ้นกําหนดห้าปีนับถึง วันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์”

 

มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา  ๕๑  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมมัคคุเทศก์และการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชน เป็นการเฉพาะ  เมื่อคณะกรรมการได้ประกาศเขตพื้นที่ในท้องถิ่นหรือชุมชนใดตามมาตรา  ๑๒  (๔)  แล้ว  รัฐมนตรีจะประกาศยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา  ๕๐  (๑)  (ก)  (ค)  หรือ  (ง)  สําหรับผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตพื้นที่นั้น  รวมตลอดทั้งยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์ให้ด้วยก็ได้”

 

มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา  ๕๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต  และอาจต่ออายุ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้  โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ ความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”

 

มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๕๗  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๗ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่  การแต่งกาย  การรักษามารยาท  ความประพฤติ  และการตรวจสุขภาพของมัคคุเทศก์  ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด มัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนดตามวรรคหนึ่ง  และต้องติดใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์ตลอดเวลาที่ทําหน้าที่มัคคุเทศก์ตามลักษณะที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”

 

มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๖๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้นําเที่ยวต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๓๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๖๔/๑  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “มาตรา ๖๔/๑ ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวต้อง (๑) มีคุณสมบัติ  ดังต่อไปนี้  ( ก) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยว ( ข) มีสัญชาติไทย  ( ค) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยว ที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์  หรือสําเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกําหนด  หรือสําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและได้รับวุฒิบัตรว่าได้ผ่านการฝึกอบรม วิชามัคคุเทศก์หรือผู้นําเที่ยวตามหลักสูตรและสถานฝึกอบรมที่คณะกรรมการกําหนด (๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้  ( ก) เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ  หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด  ( ข) เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวมาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน เป็นผู้นําเที่ยว”

 

มาตรา ๓๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๖๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๕ ผู้นําเที่ยวมีหน้าที่ในการนําเที่ยวและอํานวยความสะดวก  รวมทั้งดําเนินการ ให้เป็นไปตามรายการนําเที่ยวตามมาตรา  ๒๖  หรือมาตรา  ๒๙  แล้วแต่กรณี”

 

มาตรา ๓๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๖๘  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๘ เมื่อนายทะเบียนมีคําสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน ตามมาตรา  ๖๗  ให้นายทะเบียนแจ้งให้กรมทราบ  และให้กรมแจ้งเวียนชื่อบุคคลดังกล่าวให้ผู้ประกอบ ธุรกิจนําเที่ยวทราบ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด”

 

มาตรา ๓๕ ให้ยกเลิกความใน  (๔)  ของมาตรา  ๗๐  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔)  เงินที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวจ่ายชดใช้คืนกองทุนและเงินที่นายทะเบียนหักจากหลักประกัน ส่งคืนกองทุนตามมาตรา  ๔๑  วรรคสาม  และเงินเพิ่มตามมาตรา  ๔๒  วรรคสอง”

 

มาตรา ๓๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา  ๗๐  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของกรมเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน  โดยไม่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน”

 

มาตรา ๓๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๗๓  มาตรา  ๗๔  และมาตรา  ๗๕  แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๓ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปี  ให้กรมจัดทํางบดุล  งบการเงินและบัญชี แสดงการใช้จ่ายเงินกองทุนเสนอคณะกรรมการงบดุลนั้น  กรมต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดําเนินการสอบบัญชีและจัดทํารายงานการสอบบัญชี เสนอคณะกรรมการ มาตรา ๗๔ ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคนหนึ่งซึ่งมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการกอง เป็นนายทะเบียนธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง  เพื่อทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนในการควบคุมธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์ทั่วราชอาณาจักร  และมีอํานาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้  หรือตามที่ คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๗๕ เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่  อธิบดีจะแต่งตั้งนายทะเบียนธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาโดยให้มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการ ตามพระราชบัญญัตินี้ในเขตจังหวัดหนึ่งหรือหลายจังหวัดก็ได้”

 

มาตรา ๓๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา  ๗๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “นายทะเบียนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ใช้อํานาจตามวรรคหนึ่งก็ได้”

 

มาตรา ๓๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๘๐/๑  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑ “มาตรา ๘๐/๑ ผู้ใดประกอบธุรกิจนําเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ตามมาตรา  ๒๒/๒  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท”

 

มาตรา ๔๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๘๑  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๑ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๒๓  หรือมาตรา  ๓๘   ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

 

มาตรา ๔๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๘๓  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๓ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๒๕  มาตรา  ๒๖  มาตรา  ๒๗  หรือมาตรา  ๓๗  ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท”

 

มาตรา ๔๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๘๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๕ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  ๓๓  หรือมาตรา  ๓๔  วรรคหนึ่ง  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท”

 

มาตรา ๔๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๘๘  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๘๘ มัคคุเทศก์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนดหรือไม่ติดใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา  ๕๗  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท”

 

มาตรา ๔๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๙๐  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙๐ ผู้ใดทําหน้าที่เป็นผู้นําเที่ยวโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวตามมาตรา  ๖๔  ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ”

 

มาตรา ๔๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๙๕  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙๕ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล  ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ  หรือการกระทําของบุคคลใด  หรือไม่สั่งการ  หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทํา ของกรรมการผู้จัดการ  หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น  ผู้นั้นต้องรับโทษ ตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ  ด้วย”

 

มาตรา ๔๖ ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน

 

มาตรา ๔๗ การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๗  วรรคหนึ่ง  แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง  ให้กรรมการโดยตําแหน่ง ตามมาตรา  ๗  วรรคหนึ่ง  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้  ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน

 

มาตรา ๔๘ คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว  คําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์  คําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยว  และคําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์  ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ  และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของนายทะเบียน  ให้ถือว่าเป็นคําขอตามพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยว และมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  และให้นายทะเบียนพิจารณาดําเนินการ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ มีผลใช้บังคับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ออกตามคําขอในวรรคหนึ่ง  ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

 

มาตรา ๔๙ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ยังมีผลอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ  ให้คงใช้ได้ต่อไปจนถึงวันครบกําหนดสองปีนับจากวันชําระค่าธรรมเนียมครั้งสุดท้าย   ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ใบอนุญาตจะครบกําหนดตามวรรคหนึ่ง  หากประสงค์จะประกอบ ธุรกิจนําเที่ยวต่อไปให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในสามสิบวัน ก่อนใบอนุญาตครบกําหนด  และเมื่อได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตแล้วให้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน  เพื่อประโยชน์แห่งการนี้  ให้ถือว่าหลักประกันที่ได้วางไว้เดิม เป็นส่วนหนึ่งของหลักประกันที่ต้องวางตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวซึ่งได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียนตามวรรคสอง  ต้องเลิก การประกอบธุรกิจนําเที่ยวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต

 

มาตรา ๕๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา  ๔๙  แห่งพระราชบัญญัตินี้ที่มีสถานที่ ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขานั้น ต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา  ๔๙  วรรคสอง  แห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวได้รับแจ้งการอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา  ๔๙   แห่งพระราชบัญญัตินี้แล้ว  ให้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขาได้ต่อไป  แต่จะต้องมาขอรับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจนําเที่ยวสาขาตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งดังกล่าว

 

มาตรา ๕๑ หลักประกันที่เป็นพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่ผู้ประกอบ ธุรกิจนําเที่ยวได้วางไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะถึงกําหนดต่ออายุ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

 

มาตรา ๕๒ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ที่ยังมีผลอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ   เพื่อประโยชน์ในการต่ออายุใบอนุญาต  ให้ถือว่าใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นใบอนุญาตที่ออกให้ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  และให้นํามาตรา  ๕๖  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้  มาใช้บังคับในการขอต่ออายุใบอนุญาตด้วย

 

มาตรา ๕๓ ผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ถือว่าเป็นผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวตามมาตรา  ๖๔  แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๕๔ มัคคุเทศก์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นําเที่ยวอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  หากประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นําเที่ยวต่อไปให้มาขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยวภายในเก้าสิบวันนับแต่ วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่รับขึ้นทะเบียน

 

มาตรา ๕๕ บรรดากฎกระทรวง  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติ ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ยังคง ใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑   ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  จนกว่าจะมีกฎกระทรวง  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศ  ที่ออกตาม พระราชบัญญัติธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ศ.  ๒๕๕๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  ใช้บังคับการดําเนินการออกกฎกระทรวง  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศตามวรรคหนึ่ง  ให้ดําเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  หากไม่สามารถดําเนินการได้  ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

 

มาตรา ๕๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

อัตราค่าธรรมเนียม

 

(๑) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท

(๒) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท

(๓) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท

(๔) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท

(๕) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

(๖) ใบแทนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

(๗) การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท

(๘) การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท

(๙)  การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท

 

หมายเหตุ  :-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ  โดยที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก ในการนํารายได้เข้าสู่ประเทศ  ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการแข่งขันสูง  สมควรพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  โดยควบคุมมาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการ  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว  เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันในระดับสากล  จึงสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น  กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว  กําหนดให้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา  แก้ไขหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนําเที่ยวบางประการ  เช่น  แก้ไขเรื่องการวางหลักประกัน  และแก้ไขรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสารการโฆษณาชี้ชวนเกี่ยวกับรายการนําเที่ยว  กําหนดรองรับให้ทายาทของผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวสามารถประกอบธุรกิจนําเที่ยวต่อไปได้  เพิ่มเหตุแห่งการพักใช้ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวเพื่อให้ครอบคลุมทุกกรณี  แก้ไขคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และหลักเกณฑ์การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์มีความสามารถในการเป็น มัคคุเทศก์ได้อย่างแท้จริง  รวมทั้งแก้ไขหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นําเที่ยว  แก้ไขบทกําหนดโทษให้ครอบคลุมทุกกรณี  และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  ตลอดจนแก้ไข ชื่อหน่วยงานและตําแหน่งผู้บริหารเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นกรมการท่องเที่ยว  พ.ศ.  ๒๕๕๓  จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
admin
ponkanok.cbs@gmail.com
Previous post กฎหมายน่ารู้! พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551
Next post รู้ไว้ใช่ว่า! กฎหมายท่องเที่ยว พ.ศ.2562