
฿฿฿. เป็นไกด์ เป็น หัวหน้าทัวร์ ต้องรู้ ต้องพร่ำพูด เสมอ สิ่งของมีค่าของนักท่องเที่ยวต้องให้ นำติดตัวไว้เสมอ ถ้าเกิด สูญหาย เรื่องก็จะยุ่งอย่างนี้. $$$$
20 มกราคม 2563 ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ ครั้งที่ 1/2563 ที่กรมการท่องเที่ยว และ 23 มกราคม 2563 ร่วมประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ครั้งที่ 1/2563 ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มีมติของที่ประชุมที่ควรจะเป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อบริษัทธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้นำเที่ยว และ นักท่องเที่ยวชาวไทย กล่าวคือ มีคดีร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวเรียกค่าเสียหายจากบริษัททัวร์แห่งหนึ่งที่นำไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศในยุโรป ซึ่งประเด็นสำคัญที่นำมาสู่่การร้องเรียนหรือฟ้องร้องก็คือ เงินที่เก็บไว้ในกระเป๋าเป้หรือกระเป๋าถือที่วางไว้บนที่นั่งในรถโค้ชหรือรถบัสนำเที่ยวหายไปในระหว่างที่ลงจากรถไปท่องเที่ยวโดยไม่นำติดตัวไปด้วย โดยกล่าวหาว่าคนขับรถเป็นผู้ลักขโมยเงินไป และทางบริษัทต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวดังกล่าวได้นำเรื่องมาร้องเรียนต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง รวมทั้ง ยื่นฟ้องศาลแพ่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งผลจากคำพิพากษาของศาลได้พิจารณายกฟ้อง และนายทะเบียนที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ก็ได้ผลสรุปเป็นมติเช่นเดียวกันต่อกรณีนี้ ทั้งนี้
จากเนื้อหาในคำพิพากษาของศาลที่สำคัญคือ …..”่โจทก์ (นักท่องเที่ยว) ฟ้องให้จำเลย (บริษัททัวร์) รับผิดในเงินดังกล่าวโดยอ้างฐานละเมิด ดังนี้ การที่จำเลยจะต้องรับผิด ต้องได้ความว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้ความว่าเอกสารหมาย จ.2 (ใบเตรียมตัวเดินทางยุโรป) มีข้อความเตือน
“กรุณาอย่าเก็บสิ่งของมีค่าไว้ในกระเป๋าเดินทางหรือกระเป๋าแฮนแบ๊ก เพราะหากสูญหายหรือถูกโจรกรรม บริษัทฯ ไม่สามารถรับผิดชอบค่าเสียหายทุกกรณี”
จริง ส่วนที่โจทก์เบิกความว่า (ชื่อผู้นำเที่ยว) พูดเตือนก่อนลงจากรถไปเที่ยวในทำนองว่า ให้ระวังมิจฉาชีพโจรกรรมกระเป๋า ทำให้โจทก์กลัวจึงแยกเก็บเงินบางส่วนไว้ในกระเป๋าเป้วางบนที่นั่งรถโดยสารนั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตัดสินใจเก็บเงินไว้บนรถโดยสารเอง หาใช่ (ชื่อผู้นำเที่ยว) พูดบอกให้ทำ ส่วนเรื่องเงินหายนั้น แม้ว่าคนขับรถจะเปิดประตูให้คนลงไปเที่ยวแล้วปิดประตูรถ ทำให้รถเหลือแต่คนขับก็ตาม แต่นอกจากกลุ่มของโจทก์แล้ว
ยังมีนักท่องเที่ยวอื่นอีกหลายคน ทั้้งตามปกติของการเที่ยว นักท่องเที่ยวคนใดกลับมาถึงรถก่อน คนขับย่อมเปิดประตุให้ขึ้นมานั่งรอคนอื่นในรถ ดังนี้ ลำพังข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คนขับรถเป็นผู้ลักเงินของโจทก์ไป…..
” ครับ เรื่่องกรณีแบบนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงนำมาฝากไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พึงทราบและระมัดระวังไว้ครับ
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันทน์
นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย