กลุ่มสุดยอดผู้บริหารการท่องเที่ยว ร่วมกันหารือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามันสู่อ่าวไทย เพื่อกระตุ้นแผนพัฒนา Southern Economic Corridor (SEC) พัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน
คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการเสวนา “อุปสรรค และความท้าทายในการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน” โดยมีนักวิชาการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น12 อาคารศรีศรัทธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อช่วงเช้าวันนี้(11 ก.พ. 63)
โดยประธานคณะกรรมมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้กล่าวเปิดรายงานการเสวนา ก่อนที่จะส่งต่อให้รองศาสตราจารย์ ดร.หลินฟ้า คูรพิพัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ในฐานะผู้ดำเนินรายการนำแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน สู่โครงการสัมมนาในห้วข้อที่เป็นประเด็นสำคัญ อย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ในประเด็น “อุปสรรค และความท้าทายในการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยหลักการ และเหตุผลของคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรค ตลอดจนวิเคราะห์ข้อเท็จจริง เพื่อจัดทาแนวทาง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจการ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอันดามันสู่อ่าวไทย ที่จะนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว
สืบเนื่องจากรัฐบาลได้กาหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นแนวทางในการพัฒนา ประเทศในระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็น ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ตามแนวทางที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นกลไกสาคัญในการนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยยุทธศาสตร์ชาติได้ระบุวาระการพัฒนาที่เน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย ตลอดจนรองรับผลกระทบจากพลวัตของกระบวนการโลกาภิวัตน์ การย้ายขันวอานาจทางเศรษฐกิจ และ ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ ตลอดจนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะมีความรุนแรง มากขึนน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) จากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทาง เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเตรียมรับของผู้บริหารการท่องเที่ยว ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคุณสุเทพ เกื้อสังข์ อดีตรองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และคุณสุรินทร์ ทองคำ ผู้บริหาร Farzeer Management (Dubai) ด้านการเงินการลงทุน
โดยคุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการท่องเที่ยวที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ใน 5 จังหวัด ตั้งอยู่ประกอบด้วย จังหวัดระนอง ,พังงา ,ภูเก็ต ,กระบี่ และจังหวัดตรัง มีศักยภาพโดดเด่นในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลระดับนานาชาติ มีจุดขายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น หาดทราย ชายทะเล หมู่เกาะ และการท่องที่ยวเชิงนิเวศน์ เช่น การดำน้ำ ปีนผา อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีมนต์เสน่ห์ของความเป็น “Andaman Paradise หรือ มรกตเมืองใต้” โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางที่เปรียบเสมือน “ไข่มุกอัดามัน” และมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เช่น เกาะพีพี หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งนิเวศน์ป่าชายเลนและนิเวศน์ธรรมชาติป่าเขาในจังหวัดพังงา-กระบี่-ตรัง และแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติในจังหวัดระนองที่เป็นการท่องเที่ยวสุขภาพ และสปา โดยมีบริการพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชั้นนำของโลก (World Class) ที่สำคัญ คือ สนามบินนานาชาติ 2 แห่ง ที่กระบี่ และภูเก็ต พร้อมทั้งมีท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ และท่าจอดเรือยอร์ชที่มีความสะดวก และทันสมัยที่ภูเก็ต ตลอดจนสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะ
นอกจากการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวเชิงรุกรูปแบบเดิมนั้น ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือภาคธุรกิจดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการสร้างสมดุลย์ระหว่างการสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น พร้อมรักษาความสวยงาม และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไว้ใน เวลาเดียวกัน ดังนั้น การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จึงต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และความต้องการของประชาสังคม ท้องถิ่น และชุมชนเข้าอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ โดยพุ่งเป้าสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และส่งเสริมพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชน ส่วนในการพัฒนานั้น อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาในด้านการท่องเที่ยวทางทะเลชั้นนำระดับโลก ด้วยการรักษาความมีชื่อเสียง และเพิ่มมนต์เสน่ห์ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ เช่น MICE และ Marina ที่ภูเก็ต โดยคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์อันดามัน และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมบทบาทสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก ประกอบกับให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มสนใจการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism) เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism) การท่องเที่ยวเชิงศาสนา (Spiritual Tourism) การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมและนิทรรศการ (MICE) เป็นต้น รวมถึงฐานการผลิตยางพารา และปาล์มน้ำมันครบวงจร ในการเป็นศูนย์กลางการผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศ ตลอดจนอาหารทะเลแปรรูป ให้มีศักยภาพ และได้รับการยอมรับจากประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารทะเล
ด้านคุณสุเทพ เกื้อสังข์ อดีตรองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า การบริหารจัดการโครงสร้าง และบริการพื้นฐานตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้าง และบริการพื้นฐานโดยมุ่งเน้นการแก้ไขจุดอ่อน หรือประเด็นอุปสรรคที่มีอยู่เดิมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่ง ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค และการส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนมให้ความสำคัญกับการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การขจัดมลพิษด้านต่างๆ และการส่งเสริมการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไป เพื่อเพิ่มศักยภาพ ทางยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้า และบริการด้านการ ท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับศักยภาพของภาควิสาหกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาตินธรรมวัฒและสังคม เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านสินค้า และบริการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพสินค้า และบริการ เพื่อสร้างรายได้ ต่อยอดกับภาคธุรกิจการเกษตร การประมง ในการเชื่อมโยงกับภาคบริการ พร้อมสนับสนุนการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ที่จะมีส่วนช่วยขยายระยะเวลาการพำนักในสถานที่ต่างๆ ในกลุ่มจังหวัดฯ และรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นสนับสนุนยุทธศาสตร์บริหารจัดการด้านการตลาดเชิงบูรณาการ เพื่อเป็นการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดโดยอาศัยการเชื่อมโยงช่องทางการตลาดแบบครบวงจรเพื่อรักษาฐานนักท่องเที่ยวเดิม และเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนา และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงมาตรฐานการให้บริการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล พร้อมทั้งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรและเครือข่ายต่างประเทศ ,สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ,สร้างเศรษฐกิจให้สมดุลเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และมาตรฐานคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชุมชน และท้องถิ่น ตลอดจนฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความสมดุลของระบบนิเวศน์อย่างยั่งยืน ส่วนในด้านมาตรการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ถือเป็น แผนของการขับเคลื่อน ที่ต้องให้ความสำคัญ เป็นวาระของชาติ การให้ความเชื่อมั่นกับการท่องเที่ยว ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ของความยั่งยืนของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่าวไทย และอันดามัน ดังนั้นการวางแผนด้านการจัดการ ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบการบริหารโครงการดังนี้ โดยมีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย ,เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยว ,ติดป้ายเตือนอุบัติเหตุ / อุบัติภัย ,จัดทีมสำรวจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และจำกัดอายุนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติอีกด้วย
ขณะที่ คุณสุรินทร์ ทองคำ ผู้บริหาร Farzeer Management (Dubai) ด้านการเงินการลงทุน ได้กล่าวถึงการตลาด และการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงอ่าวไทยอันดามัน ในยุคใหม่แนวทางการบริหารจัดการ สู่ยุค 5 G ว่า ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างจากการตลาดสินค้าอุตสาหกรรมทั้งนี้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตัวตน ผู้บริโภคไม่ได้สัมผัสสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แบ่งแยกไม่ได้ การผลิต และการบริโภคเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันและเป็นผลิตภัณฑ์ที่สูญเสียได้ ดังนั้นการตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการพัฒนาการตลาดอย่างหนึ่งคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสารต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงประชาชนอย่างแพร่หลาย จะมีส่วนสนับสนุนให้ประชากรเกิดความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความสามารถในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบันนั้น มีการใช้การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร IMC (Integrated Marketing Communication) เป็นเครื่องมือทีนิยมใช้กันมาก เพื่อหวังผลให้สินค้า และข่าวสารการเสนอขายได้รับความสนใจ สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และมากที่สุด เพื่อนำมาใช้ผสมผสานอย่างต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มการส่งเสริมการท่องเที่ยวหลักของภาครัฐจำเป็นต้องศึกษาลักษณะของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อเป็นช่องการในการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ ในการจัดงานในวันนี้ ทางคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร จะสรุปประเด็น และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงภาพรวมทั้งหมด เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทางด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป