เกี่ยวกับเรา

ประวัติสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย

นับแต่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมในสมัย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา อาชีพที่เจริญเติบโตควบคู่กันมากับการท่องเที่ยวไทย คือ มัคคุเทศก์ ซึ่งก็ได้มีกลุ่มมัคคุเทศก์จัดพบปะสังสรรค์กันมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 จึงเห็นควรว่าน่าจะรวบรวมบรรดาผู้ที่ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ให้เป็นปึกแผ่น โดยดำริให้จัดตั้งเป็นสมาคมขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการประชุมในหมู่มัคคุเทศก์รุ่นเก่า ๆ สมัยนั้นหลายคน ซึ่งสถานที่แห่งแรกที่มีการประชุมกันอย่างเป็นทางการคือ ร้านจิตรโภชนา เพื่อร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการร่างหลักการและข้อบังคับในการก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพขึ้นมา พร้อมทั้งรวบรวมสมาชิกได้จำนวนประมาณ 50 คน หลังจากนั้น ก็ได้มีการเตรียมการจัดตั้งสมาคมขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการที่จะรักษาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก และได้มีการร่างธรรมนูญหรือข้อบังคับสมาคม และต่อมาได้นำร่างข้อบังคับไปยื่นขอจดทะเบียนต่อสันติบาล กรมตำรวจ และกองวัฒนธรรม กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้เป็น “สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ” ที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518
การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพในครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่โรงแรมรอแยล รัตนโกสินทร์ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 132 คน โดยผลการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกนี้ มี นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต เป็นนายกสมาคมคนแรก และต่อ ๆ มาก็มีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนผู้เป็นนายกสมาคมมาเป็นลำดับดังนี้คือ

ปี พ.ศ. นายกสมาคม ปี พ.ศ. นายกสมาคม
2518-2519 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต 2520 (ครึ่งปีแรก) นายบูรณะ ศรฤทธิ์ชิงชัย
2520 (ครึ่งปีหลัง) นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต 2521-2522 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต
2523 นายเสงี่ยม เอกโชติ 2524 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต
2525 นายกมล เกตุสิริ 2526 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต
2527 นายคำนนท์ สูตะบุตร 2528 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต
2529 นายบัณฑิต ฉันทศักดา 2530-2531 นายเสงี่ยม เอกโชติ
2532-2542 นายเถกิงศักดิ์ สุวรรณทัต 2543 นายไชยยงค์ เจริญเมือง
2544-2546 นายจารุพล เรืองเกตุ 2547-2552 นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์
2553-2554 นายพงศ์พันธุ์ จันทร์สุกรี 2555-2559 นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์
2559-2561 นายชาติ จันทนประยูร 2561-2566 นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์
2566-ปัจจุบัน นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ – –

ส่วนที่ทำการสมาคมก็มีการย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมแห่งเวลาและสถานการณ์ดังนี้คือ

ปี พ.ศ. ที่อยู่ที่ทำการ
2518-2520 1037/2 เอส ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10500
2521-2524 บริษัท ทราเว็กซ์ จำกัด เลขที่ 82/5 ซอยหลังสวน ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10500
2525-2527 อาคารปริญญา ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10500
2528- 2542 420/9-10 อาคารบุญวานิช สยามสแควร์ ซอย 1 ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10500
2543-2545 99/7 ซอยสดพิณสรร ถนนรางน้ำ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400
2546-2547 ชั้น 2 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถ.ราชดำเนินนอก ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ ฯ 10100
2548-12 เมษายน 2563 154 ชั้น 1 อาคารกรมการท่องเที่ยว สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10330 โทร. 0 2219 2721-2 แฟกซ์ 0 2219 2723
13 เมษายน 2563 ถึงปัจจุบัน 414/11 ชั้น 5 อาคารสำราญแมนชั่น ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 20 ถนนประชาราษฎร์ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ 10310

เปลี่ยนแปลงชื่อจาก “สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ” เป็น “สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย”
ตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งและจดทะเบียนสมาคมโดยใช้ชื่อ “สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ” มาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 34 ปี ที่ได้มีความพยายามขอเปลี่ยนแปลงชื่อเพิ่มเติมคำว่า “แห่งประเทศไทย” เป็น “สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย” มาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลบางประการของทางราชการ จนถึงสมัยของ นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ ก็ได้พยายามยื่นขอจดทะเบียนเพิ่มเติมจนสำเร็จในที่สุด โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รับจดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม 2551

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นองค์กรในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรม ตลอดจนการสร้างสรรค์ และธำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของมัคคุเทศก์
2. ยกระดับมาตรฐานและส่งเสริมวิทยะฐานะแห่งอาชีพมัคคุเทศก์ และมุ่งเน้นให้คำนึง
ถึงจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
3. ส่งเสริมวัฒนธรรม ธรรมเนียมจารีตประเพณี ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์แห่งชาติ และ
สนับสนุนการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อส่งเสริมงานมัคคุเทศก์ให้เป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของสังคม อันจะเป็นการเผย
แพร่ชื่อเสียง เกียรติคุณแห่งอาชีพมัคคุเทศก์
5. สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว และเผยแพร่ข่าวสาร
6. จัดสวัสดิการระหว่างสมาชิก
7. ส่งเสริมสามัคคีธรรม และภราดรภาพ รวมทั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือ
และประสานงานกับสมาชิกและองค์กรอื่น เพื่อดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่
สมาชิกหรือสังคมในส่วนรวม
8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดทั้งการส่งเสริมการกีฬา และสาระบันเทิง
9. เพื่อดำเนินการอื่น ๆ อันจะช่วยให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ข้างต้นนี้

บทบาทหน้าที่ของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการประสานงาน เพื่อช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในทุกด้านระหว่างสมาชิก และระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของผู้อยู่ในวิชาชีพมัคคุเทศก์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1 งานด้านพัฒนา
ร่วมจัดอบรม สัมมนา ทั้งในด้านภาษาและเพิ่มพูนความรู้ด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้กับมัคคุเทศก์ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอาชีพเพื่อให้มีคุณภาพ และมาตรฐานด้านบริการที่ดี รวมทั้งการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การเข้าร่วมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่เสื่อมโทรมร่วมกับภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ให้กับชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว
1.2 งานด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์
เป็นองค์กรที่เป็นเครือข่ายให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์งานด้านตลาดต่าง ๆ ผ่านมัคคุเทศก์ทั่วไป รวมทั้งร่วมประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซด์และวารสารของสมาคม รวมทั้งเป็นทูตวัฒนธรรม และทูตการค้า ระหว่างประเทศในการชักชวนให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวัฒนธรรม ประเพณี และสินค้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ และสนใจในสิ่งดี ๆ ของเมืองไทย และร่วมออกงานส่งเสริมการท่องเที่ยวและการค้า โดยส่งมัคคุเทศก์เฉพาะภาษาที่จะไป ณ ประเทศที่ใช้ภาษานั้นให้กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ที่มีคณะเดินทางเพื่อไปส่งเสริมการตลาด และเจรจาการค้าและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นล่าม ประสานงาน และนำเสนอประเทศไทยงาน Roadshow ต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
1.3 งานด้านการแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
ช่วยเหลือภาครัฐและเอกชนในการร่วมมือแก้ไขปัญหา อาทิ การเข้าร่วมคณะทำงานปราบปรามและป้องกันการทำธุรกิจท่องเที่ยวที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ถูกต้องซึ่งมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยในทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำทัวร์ศูนย์เหรียญ การหลอกลวงนักท่องเที่ยว เป็นต้น รวมทั้งการร่วมแก้ไขปัญหาเมื่อมีวิกฤติจากภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ที่มัคคุเทศก์ได้นำมัคคุเทศก์ภาษาต่าง ๆ ไปให้บริการนักท่องเที่ยวที่ประสบปัญหา และในเหตุการณ์วิกฤติทางการเมืองในหลากหลายสถานการณ์ยามฉุกเฉินที่ได้ส่งมัคคุเทศก์อาสาสมัครภาษาต่าง ๆ ไปช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกและสื่อภาษาต่างประเทศให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์รวมทั้งกรณีได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ที่ได้ส่งมัคคุเทศก์เป็นไปล่ามตามโรงพยาบาล และสถานีตำรวจต่าง ๆ
1.4 งานด้านความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
การรับเป็นวิทยากร และเข้าร่วมในการประชุม สัมมนา และบรรยายด้านวิชาการให้กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับสมาคมองค์กรต่าง ๆ ในการจัดทำโครงการ รวมทั้งการเข้าร่วมในคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยโดยตรงและโดยอ้อม
1.5 การเข้าเป็นสมาชิกสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์โลก (World Federaton of Tourist
Guide Associations-WFTGA) ในปี พ.ศ. 2549 และร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาเซียน (South East Asia Tourist Guides’ Association-SEATGA) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2547
เพื่อเป็นผู้แทนมัคคุเทศก์ของประเทศ ในการเข้าไปร่วมเป็นสมาชิกนอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการร่วมสัมมนา อบรมความรู้ ทักษะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานของมัคคุเทศก์ระดับสากลในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังได้รับความร่วมมือในอีกหลายมิติทั้งระดับภูมิภาค และนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศไทย รวมถึงการที่จะเสนอประมูลสิทธิการจัดการประชุมมัคคุเทศก์โลกที่มีการจัดทุกสองปี (Biennial International Convention of WFTGA) ที่ประเทศไทยในอนาคต ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยให้แพร่หลายทั่วโลกยิ่ง ๆ ขึ้น
1.6 การร่วมจัดตั้ง “สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”
การร่วมจัดตั้ง “สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (Federation of
Thailand Tourism Network Associations) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 และ นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ฯ ในสมัยนั้น ได้รับเลือกเป็นประธานคนแรกของสมาพันธ์ ฯ ประกอบด้วยสมาชิกก่อตั้ง 7 องค์กร ได้แก่ 1. สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย 2. สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย 3. สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 4. สมาคมเรือไทย 5. สมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง 6. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย และ 7. ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นเอกภาพในภาคเอกชน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพในบริการและความปลอดภัย โดยทำให้เกิดเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงการทำงานในลักษณะการรวมกลุ่มสมาคม ชมรม ด้านอุตสาหกรรมการบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาบุคลากร การตลาด และการบริการท่องเที่ยวร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ข้อมูล สถิติ ด้านการท่องเที่ยวต่อกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความเข้มแข็งต่อกลุ่มสมาคม ชมรม ที่เป็นพันธมิตร และยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการที่จะแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการดูแล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วิถีชิวิต วัฒนธรรม และความเป็นไทย รวมทั้งการร่วมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.7 การเป็นผู้แทนร่วมเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานในภาครัฐและ
เอกชน ที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบัน อาทิเช่น

กรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านวิชาการ
นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (2547-2553)
กรรมการเหรัญญิกกิตติมศักดิ์สมาคมมัคคุเทศก์เซ้าท์อีสต์เอเซีย (อาเซียน)
Honorary Treasurer of South East Asia Tourist Guides Association (SEATGA)
กรรมการอำนวยการมาตรฐานท่องเที่ยวของประเทศไทย
กรรมการมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย
อนุกรรมการยกร่างอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
อนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์
อนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว
อนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรและมาตรฐานการประกอบธุรกิจนำเที่ยวมัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยว
อนุกรรมการมาตรฐานด้านบริการเพื่อการท่องเที่ยว
อนุกรรมการมาตรฐานกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว
อนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษากลุ่มอาชีพ (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มโรงแรมและท่องเที่ยว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
กรรมการบรรณาธิการกิจเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงการศึกษาธิการ
กรรมการที่ปรึกษาคณะการจัดการการท่องเที่ยว (14 มกราคม 2559 – 13 มกราคม 2562)
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
กรรมการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ หอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรรมการตัดสินการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 11 (Thailand Tourism Awards) – ททท.
ประธานกรรมการตัดสินการประกวดรางวัลมัคคุเทศก์ดีเด่น (Tourist Guide Awards) – ททท.
ทีปรึกษาสมาคมเรือไทย (Advisor to Thai Boat Association)
ที่ปรึกษาสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (Honorary Advisor to Association of Thai Tour Operator)
ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (Honorary Advisor to Thai Tourism Promotion Association)
ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการค้าในแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (FETNA)
วิทยากรบรรยายรับเชิญให้กับสถาบันการศึกษา องค์การ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

ที่มา อำนาจและหน้าที่ คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ากฎหมายต่าง​ ๆ ที่ออกมาบังคับใช้แต่ละฉบับนั้นมีกระบวนการมากมายใช้เวลาเนิ่นนาน และเมื่ออกมาแล้ว​ ยังยุ่งยากในการจะออกกฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแม่หรือของ พระราชบัญญัติแต่ละฉบับ บางเรื่องก็อาจจะตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่ทัน​ อย่างไรก็ตาม​

รู้ไว้ใช่ว่า! กฎหมายท่องเที่ยว พ.ศ.2562

ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง  แบบใบอนุญาตเป็นมคัคุเทศก์ พ.ศ.  2562   เพื่อให้การออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์  เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎกระทรวงการอนุญาต

เกี่ยวกับเรา

ประวัติสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย   ช่วงก่อตั้งสมาคม   นับแต่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมในสมัย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล